พระคําของพระเจ้า
บทที่1 พระเจ้าบทที่2 พระวิญญาณของพระเจ้าบทที่3 พระสัญญาของพระเจ้า บทที่4 พระเจ้ากับความตายบทที่5 แผ่นดินของพระเจ้าบทที่6 พระเจ้าและความชั่วร้ายบทที่7 การบังเกิดพระเยซูบทที่8 ธรรมชาติของพระเยซูบทที่9 การรับบัพติศมาบทที่10 ชีวิตในพระคริสต์คำเผยพระวจนะส่วนตัว1.1 การดำรงพระชนม์ชีพอยู่ของพระเจ้า"ผู้ที่จะมาเฝ้าพระเจ้าได้นั้น ต้องเชื่อว่าพระองค์ทรงดำรงพระชนม์อยู่ และพระองค์ทรงเป็นผู้ประทานบำเหน็จให้แก่ทุกคนที่แสวงหาพระองค์" (ฮิบรู 11:6) เนื้อหาของบทเรียนนี้จะช่วยให้ผู้ที่ต้องการมาหาพระเจ้า ก่อนอื่นจะต้องเชื่อว่า "พระเจ้าทรงพระชนม์อยู่" เราจึงไม่กังวลกับหลักฐานที่ยืนยันศรัทธาในการมีพระชมน์ชีพอยู่ของพระเจ้า การสำรวจโครงสร้างอันซับซ้อนของร่างกาย (cp. Ps.139:14) และรูปแบบที่เด่นชัดในดอกไม้ การเพ่งพินิจน์ความว่างเปล่าอันไพศาลของราตรีกาลที่ใสกระจ่าง ภาพสะท้อนชีวิตเหล่านี้และอื่นๆอีกมากมายทำให้ความเชื่อว่าโลกนี้ไม่มีพระเจ้ากลายเป็นสิ่งไม่น่าเชื่อ การเชื่อว่าไม่มีพระเจ้าดูจะต้องใช้ศรัทธามากกว่าการเชื่อว่ามีพระเจ้าอยู่จริง หากขาดพระเจ้าก็ไร้ซึ่งระเบียบ วัตถุประสงค์ และคำอธิบายในเรื่องจักรวาล ซึ่งสิ่งนี้จึงสะท้อนอยู่ในชีวิตของผู้ที่ไม่เชื่อในพระเจ้า เมื่อเป็นเช่นนี้จึงไม่น่าแปลกที่มนุษย์ส่วนใหญ่มีความเชื่อในพระเจ้าต่างกัน แม้แต่ในสังคมที่วัตถุกลายเป็นพระเจ้าก็ตามแต่ก็มีความแตกต่างกันมากระหว่างความเชื่อว่ามีพลังที่เหนือกว่า กับความเชื่อว่าพระเจ้าจะประทานบำเหน็จตอบแทนให้แก่ผู้ที่รับใช้พระองค์ ฮิบรู 11:6 กล่าวถึงประเด็นนี้ว่า เรา"ต้องเชื่อว่าพระองค์ทรงดำรงพระชนม์อยู่และพระองค์ทรงเป็นผู้ประทานบำเหน็จให้แก่ทุกคนที่แสวงหาพระองค์"ข้อพระคัมภีร์ส่วนใหญ่เป็นเรื่องเล่าในประวัติศาสตร์ของชนชาติอิสราเอลของพระเจ้า ประเด็นที่มีการกล่าวกันบ่อยครั้งคือ ความเชื่อของชนชาติยิวว่าพระเจ้าทรงดำรงพระชนม์อยู่มีไม่เท่ากับความศรัทธาต่อสิ่งที่พระองค์ทรงให้สัญญา ชนชาติยิวได้รับการบอกเล่าจากโมเสสผู้นำผู้ยิ่งใหญ่ของเขาว่า "จงทราบเสียในวันนี้ และตรึกตรองอยู่ในใจว่า พระเยโฮวาห์เป็นพระเจ้าในฟ้าสวรรค์เบื้องบน และบนแผ่นดินเบื้องล่างหามีพระเจ้าอื่นใดอีกไม่เลย เพราะฉะนั้นพวกท่านจงรักษากฎเกณฑ์ และพระราชบัญญัติของพระองค์" (เฉลยธรรมบัญญัติ 4:39, 40)มีการกล่าวถึงประเด็นเดิมอีกว่า การที่จิตของเราตระหนักว่าพระเจ้าทรงพระชนม์ชีพอยู่นั้น ไม่ได้หมายความว่าเราได้รับการต้อนรับจากพระเจ้าโดยอัตโนมัติ ถ้าเราเชื่ออย่างจริงจังว่าเรามีพระผู้ทรงสร้าง เราก็ควรจะ "รักษากฎเกณฑ์ และพระราชบัญญัติของพระองค์" บทเรียนนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายพระบัญญัติ และวิธีปฏิบัติตามพระบัญญัติ เมื่อได้อ่านพระคัมภีร์ เราจะยิ่งรู้สึกศรัทธามากขึ้นว่า พระเจ้าทรงพระชนม์ชีพอยู่:"ฉะนั้นความเชื่อเกิดขึ้นได้ก็เพราะการได้ยิน และการได้ยินเกิดขึ้นได้ก็เพราะการประกาศพระคริสต์" (โรม 10: 17) เช่นเดียวกับในหนังสืออิสยาห์ 43:9-12 ที่ทำให้ประจักษ์ว่าความเข้าใจในคำพยากรณ์อนาคตของพระเจ้า ช่วยให้เรารู้ว่า "เราเป็นพระเจ้า" (อิสยาห์ 43:13) พระนามแห่งพระเจ้าที่ว่า "เราเป็นผู้ซึ่งเราเป็น" คือความเป็นจริงอันสมบูรณ์แบบ (อพยพ 3:14) อัครทูตเปาโลเดินทางมายังเมืองชื่อเบเรีย (Berea) ซึ่งปัจจุบันอยู่ในประเทศกรีซตอยเหนือ โดยปกติเปาโลจะประกาศข่าวประเสริฐ ('ข่าวดี') ของพระเจ้า แต่แทนที่คนในเมืองจะน้อมรับคำสอนของเปาโล "เขามีใจเลื่อมใสรับพระวจนะของพระเจ้า และค้นดูพระคัมภีร์ทุกวัน หวังจะรู้ว่าข้อความเหล่านั้นจะจริงดังกล่าวหรือไม่ เหตุฉะนั้นพวกเขามีหลายคนได้เชื่อถือ" (กิจการของอัครทูต 17:11,12) ความเชื่อของพวกเขาเกิดจากการเปิดใจ และการค้นดูพระคัมภีร์อย่างมีระบบ ('ข้อความเหล่านั้น') และสม่ำเสมอ ('ทุกวัน') การมีศรัทธาที่แท้จริงจึงมิได้เกิดจากพระเจ้าประทานให้ในบัดดล ด้วยการผ่าตัดเปลี่ยนจิตให้เกิดศรัทธา โดยไม่มีความเกี่ยวพันกับพระวจนะของพระเจ้าเลย ไม่เช่นนั้นคงไม่มีคนเข้าร่วมในขบวนรณรงค์ของบิลลี่แกรแฮม หรือการชุมนุมในวันเทศกาลเพนเทคอสต์ในฐานะ "ผู้ศรัทธา" การค้นดูพระคัมภีร์จะต้องใช้เวลานานเท่าไรในกรณีนี้? การขาดศรัทธาที่แท้จริงในพระคัมภีร์เกิดจากความว่างเปล่า ซึ่ง "ผู้เข้ารีต" จะพบหลังจากหันมาเชื่อในพระเจ้า และเหตุผลที่มีคนจำนวนมากหันเหความเชื่อออกจากคำสอนของคริสตศาสนา (Evangelical Movement)บทเรียนนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อหารูปแบบที่เหมาะสมในการค้นพระคัมภีร์ได้อย่างมีระบบ เพื่อให้คุณเกิดความเชื่อเช่นเดียวกัน ดังนั้นในการประกาศข่าวประเสริฐจึงมักจะให้ความสำคัญกับ ความสัมพันธ์ระหว่างการรับฟังข่าวประเสริฐ กับการมีศรัทธาที่แท้จริงเสมอขอทรงโปรดชำระเขาให้บริสุทธิ์ด้วยความจริง- "ชาวโครินธ์หลายคนเมื่อได้ฟังเปาโลแล้ว ก็ได้เชื่อถือและรับบัพติศมา" (กิจการของอัครทูต18:8)- เรา "ฟัง ข่าวประเสริฐและเชื่อ" (กิจการของอัครทูต15:7)- "เราทั้งหลายก็ได้ประกาศอย่างที่กล่าวมานั้น และท่านทั้งหลายก็ได้เชื่ออย่างนั้น" (1 โครินธ์15:11)- คำเปรียบนั้นก็อย่างนี้ "เมล็ดพืช" นั้นได้แก่พระวจนะของพระเจ้า (ลูกา8:11); มีความเชื่อเท่าเมล็ดพืชเมล็ดหนึ่ง (ลูกา17:6), ความเชื่อมาจากการยอมรับ "คำที่ก่อให้เกิดความเชื่อ" (โรม10:8), "เจริญด้วยคำสอนแห่งความเชื่อ และด้วยหลักธรรมอันดีที่ท่านได้ประพฤติตามนั้น" (1 ทิโมธี4:6), เข้าไปในใจซึ่งเปิดรับความเชื่อในพระเจ้าและพระวจนะของพระองค์ (กาลาเทีย2:2 cp. ฮีบรู4:2)- อัครทูตยอห์นกล่าวถึงบันทึกของพระเจ้าว่า "เขาพูดความจริง เพื่อท่านทั้งหลายจะได้เชื่อ" (ยอห์น 19:35) และพระวจนะของพระองค์เป็น "ความจริง" (ยอห์น17:17) - ซึ่งเราเชื่อได้1.2 พระเจ้าทรงมีตัวตนเนื้อหาในพระคัมภีร์มีความสูงส่งและยิ่งใหญ่ จากการที่พระเจ้าทรงสำแดงพระองค์เป็นเสมือนมนุษย์ที่มีตัวตนจริง และสามารถจับต้องได้ ชาวคริสเตียนได้รับคำสอนตั้งแต่ต้นว่า พระเยซูคือพระบุตรของพระเจ้า ถ้าพระเจ้าไม่มีตัวตนจริง ก็เป็นไปไม่ได้ที่พระองค์จะทรงมีพระบุตร ซึ่งมี "รูปลักษณ์เป็นมนุษย์" (ฮิบรู 1:3) นอกจากนั้นยังยากที่เราจะพัฒนาความสัมพันธ์แบบบุคคลต่อบุคคลกับ 'พระเจ้า' ได้ หาก 'พระเจ้า' เป็นเพียงมโนทัศน์ หรือจิตที่ล่องลอยอยู่ในความว่างเปล่าเท่านั้น จึงเป็นเรื่องน่าเศร้าที่ศาสนาส่วนใหญ่มีแนวคิดเรื่องพระเจ้าที่ไม่มีตัวตนจริง และไม่สามารถจับต้องได้พระเจ้าทรงความยิ่งใหญ่หาที่สุดมิได้เหนือกว่ามนุษย์เช่นเรา จึงไม่น่าแปลกที่มีคนจำนวนมากหยุดศรัทธาของตนเองไว้กับคำสัญญาว่า เราจะได้เห็นพระเจ้าในที่สุด ชนชาติอิสราเอลขาดศรัทธาที่จะมองเห็น "รูปร่าง" ของพระเจ้า (ยอห์น5:37) ซึ่งสำแดงให้ประจักษ์ว่าพระองค์ทรงมีรูปร่างที่แท้จริง ศรัทธาดังกล่าวเกิดจากการได้รู้จักพระเจ้า และเชื่อในพระวจนะ:"บุคคลผู้ใดมีใจบริสุทธิ์ ผู้นั้นเป็นสุข เพราะว่าเขาจะได้เห็นพระเจ้า" (มัทธิว5:8)"บรรดาผู้รับใช้ของพระองค์ (พระเจ้า) จะนมัสการพระองค์ เขาเหล่านั้นจะเห็นพระพักตร์พระองค์; และพระนามของพระองค์ (พระเจ้า - วิวรณ์3:12) จะประทับอยู่ที่หน้าผากเขา" (วิวรณ์22:3,4)ความหวังที่วิเศษเช่นนั้นถ้าเราเชื่ออย่างจริงจัง ก็จะส่งให้เกิดผลทางปฏิบัติในชีวิตของเราเอง:"จงอุตส่าห์ที่จะอยู่อย่างสงบกับคนทั้งหลาย และอุตส่าห์ที่จะได้ใจบริสุทธิ์ ซึ่งถ้าใจไม่บริสุทธิ์ก็จะไม่มีผู้ใดได้เห็นองค์พระผู้เป็นเจ้าเลย" (ฮีบรู12:14)เราไม่ควรสบถสาบาน เพราะ We should not swear, because "ผู้ใดจะสาบานอ้างสวรรค์ ก็สาบานอ้างพระที่นั่งของพระเจ้า และอ้างพระองค์ผู้ประทับบนพระที่นั่งนั้นด้วย" (มัทธิว23:22). นี่คงเป็นเรื่องไร้สาระถ้าพระเจ้าทรงไม่มีตัวตนจริง"เราจะเห็นพระองค์อย่างที่พระองค์ทรงเป็นอยู่นั้น (ปรากฏพระองค์ในรูปของพระเยซู) และทุกคนที่มีความหวังอย่างนี้ ก็ชำระตนให้บริสุทธิ์ดังที่พระองค์ทรงบริสุทธิ์" (1 ยอห์น3:2,3)ในช่วงชีวิตนี้เรายังมีความเข้าใจเกี่ยวกับพระบิดาในสวรรค์น้อยมาก แต่เราสามารถมองทะลุไปเบื้องหน้า ผ่านความมืดมนอันสับสนของชีวิตปัจจุบัน เพื่อไปพบพระเจ้าได้ในที่สุด การได้เห็นพระวรกายของพระเจ้าย่อมทำให้เราเข้าใจพระองค์ได้ดียิ่งขึ้นอย่างไม่ต้องสงสัย นั่นจึงทำให้โยบปลื้มปิติกับประสบการณ์ที่เขาได้รับจากพระเจ้าในวันสุดท้ายของชีวิต แม้ว่าจะต้องทนทุกข์ทรมานอย่างแสนสาหัสก็ตาม:"หลังจากผิวหนังของข้าถูกทำลาย (หมายถึงความตาย) ไปอย่างนี้แล้วโดยปราศจากเนื้อหนังของข้า ข้าจะเห็นพระเจ้า: ผู้ซึ่งข้าจะได้เห็นเอง และนัยน์ตาของข้าจะได้เห็นไม่ใช่คนอื่น" (โยบ19:26,27)และอัครทูตเปาโลร้องออกมาด้วยความเจ็บปวดและสับสน:"บัดนี้เราเห็นสลัวๆเหมือนดูในกระจก แต่เวลานั้นจะได้เห็นพระพักตร์ชัดเจน" (1 โครินธ์13:12)ความเข้าใจที่ถูกต้องในพระเจ้าคือหัวใจสำคัญ ที่จะทำให้เราเข้าถึงหลักคำสอนสำคัญๆในพระคัมภีร์ได้ การมีมโนคติที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับพระเจ้า จะทำให้ความเป็นจริงในพระคัมภีร์เลือนลางไป เช่นเดียวกันกับความเท็จเมื่อเกิดขึ้นครั้งหนึ่งก็จะนำไปสู่ความเท็จอื่นๆต่อไปเรื่อยๆ ถ้าคุณอ่านแล้วเห็นว่าข้อความในหนังสือบทนี้น่าเชื่อถือ แม้จะเป็นเพียงบางส่วนก็ตาม จะเกิดคำถามตามมาว่า 'คุณรู้จักพระเจ้าได้จริงหรือไม่?' ซึ่งเราจะได้ดูจากคำสอนเกี่ยวกับพระเจ้าในพระคัมภีร์ต่อไป1.3 พระนามและพระกิตติคุณของพระเจ้าถ้ามีพระเจ้าจริง ก็น่าจะมีเหตุผลให้เชื่อได้ว่าพระองค์จะต้องคิดหาวิธีบอกเรื่องราวของพระองค์แก่เรา เราเชื่อว่าพระคัมภีร์คือสื่อที่พระเจ้าใช้สำแดงพระองค์ต่อมนุษย์ และพระคัมภีร์ทำให้เราได้เห็นพระกิตติคุณของพระเจ้าที่สำแดงออกมา นี่คือเหตุที่พระคัมภีร์บรรยายพระวจนะของพระเจ้าว่าเป็น "เมล็ดพันธ์" (เปโตร1:23) เพราะถ้าพระวจนะมีผลต่อจิตใจของเรา ทำให้มีสิ่งก่อกำเนิดขึ้นภายในที่มีลักษณะของพระเจ้า (ยากอบ1:18; 2 โครินธ์5:17) ดังนั้นยิ่งเราเชื่อในพระวจนะของพระเจ้า และนำบทเรียนมาใช้ให้เกิดประโยชน์มากเท่าไร เราก็จะยิ่ง "เป็นไปตามลักษณะพระฉายแห่งพระบุตรของพระองค์" (โรม8:29) ซึ่งมีลักษณะอันเป็นพระฉายที่สมบูรณ์แบบของพระเจ้า (โคโลสี1:15) มีคุณค่าในการศึกษาพระคัมภีร์ในแง่ของประวัติศาสตร์ ซึ่งมีเหตุการณ์ต่างๆ ให้เราได้ศึกษาและเรียนรู้ว่าพระเจ้าทรงจัดการกับมนุษย์และชนชาติต่างๆอย่างไร โดยจะเป็นไปในลักษณะเช่นเดียวกันตลอดในหนังสือฮีบรูชื่อของคนเรามักจะสะท้อนให้เห็นถึงลักษณะและ/หรือข้อมูลเฉพาะของบุคคลคนนั้น ตัวอย่าวเช่น:'เยซู'= 'ผู้ช่วยให้รอด' - เพราะ "ท่านเป็นผู้ที่จะโปรดช่วยชนชาติท่านให้รอดจากความผิดบาปของเขา" (มัทธิว1:21)'อับราฮัม'= 'บิดาของประชาชาติมากมาย' - "เราให้เจ้าเป็นบิดาของประชาชาติมากมาย" (ปฐมกาล17:5)จึงเชื่อได้ว่าพระนามและพระกิตติศัพท์ของพระเจ้าจะทำให้เราได้ทราบข้อมูลของพระองค์มากมาย เนื่องจากพระเจ้าทรงมีพระจริยาวัตรและพระประสงค์มากมายหลายด้าน จึงทำให้พระองค์ทรงมีพระนามมากเกินกว่า 1 พระนาม ซึ่งขอแนะนำให้ศึกษาพระนามของพระเจ้าอย่างละเอียดหลังจากทำพิธีบัพติศมาแล้ว การแสดงความชื่นชมในพระจริยาวัตรของพระเจ้าผ่านทางการเรียกขานพระนาม ควรจะดำรงอยู่ตลอดชั่วชีวิตที่เราได้มอบให้พระองค์ สิ่งที่จะกล่าวต่อไปคือบทนำเมื่อโมเสสต้องการจะรู้จักพระเจ้าให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น เพื่อเสริมแรงศรัทธาในช่วงเวลาที่ประสบความทุกข์นั้น ทูตได้ "ออกพระนามพระเจ้า: พระเยโฮวาห์ พระเยโฮวาห์ พระเจ้าผู้ทรงพระกรุณา ทรงกอปรด้วยพระคุณ ทรงกริ้วช้า และบริบูรณ์ด้วยความรักมั่นคง และความสัตย์จริง ต่อมนุษย์กระทั่งพันชั่วอายุ ผู้ทรงโปรดยกโทษการล่วงละเมิด การทรยศ และบาปของเขาเสีย แต่จะทรงถือว่าไม่มีโทษก็หามิได้" (อพยพ34:5-7)นี่เป็นข้อพิสูจน์ที่เห็นได้ชัดว่าพระเจ้าทรงหยั่งรู้ถึงพระจริยวัตรของพระองค์ การมีพระจริยวัตรเช่นนี้เป็นข้อพิสูจน์ให้เห็นว่าพระเจ้าทรงมีพระวรกายจริง จึงเป็นเรื่องไร้สาระที่จะชี้แจงว่าจิตวิญญาณจะมีลักษณะซึ่งสามารถพัฒนาได้ในมนุษย์เช่นเราพระเจ้าทรงเลือกพระนามเฉพาะ ที่พระองค์ต้องการให้คนของพระองค์รู้จักและจดจำ เป็นพระนามที่เป็นบทสรุป และเป็นส่วนสำคัญในพระประสงค์ที่พระองค์ทรงมีกับมนุษย์ชนชาติอิสราเอลเป็นทาสในอียิปต์ และต้องการให้มีการย้ำเตือนถึงพระประสงค์ของพระเจ้า โมเสสได้รับการบอกกล่าวให้ออกพระนามของพระเจ้าแก่ชนชาติอิสราเอล เพื่อกระตุ้นเตือนให้พวกเขาอพยพออกจากอียิปต์ และเริ่มการเดินทางไปยังดินแดนแห่งความหวัง (cp. 1 โครินธ์10:1) เราเองก็เช่นกันจำเป็นต้องเข้าใจหลักพื้นฐานเกี่ยวกับพระนามของพระเจ้า ก่อนจะรับบัพติศมา และเริ่มการเดินทางสู่อาณาจักรของพระเจ้าพระเจ้าทรงบอกกับชนชาติอิสราเอลว่าพระนามของพระองค์คือ ยาห์เวห์ (YAHWEH) แปลว่า "เราเป็นผู้ซึ่งเราเป็น" หรือถ้าให้ถูกต้องยิ่งขึ้นต้องแปลว่า "เราจะเป็นผู้ซึ่งเราจะเป็น" (อพยพ3:13-15) พระนามนี้ได้รับการขยายความเพิ่มเติมเล็กน้อยว่า: "พระเจ้าจึงตรัสกับโมเสสอีกว่า เจ้าจงกล่าวแก่ประชากรอิสราเอลว่าดังนี้ พระเยโฮวาห์ พระเจ้าแห่งบรรพบุรุษของท่าน คือพระเจ้าของอับราฮัม พระเจ้าของอิสอัค และพระเจ้าของยาโคบ ... นี่แหละเป็นนามของเราตลอดไปเป็นนิตย์ นี่แหละเป็นอนุสรณ์ของเราตลอดทุกชั่วชาติพันธ์" (อพยพ3:15)ดังนั้นพระนามเต็มของพระเจ้าก็คือ "พระเจ้า"พระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาเดิมส่วนใหญ่เขียนเป็นภาษาฮิบรู การแปลเป็นภาษาอังกฤษทำให้รายละเอียดต่างๆตกหล่นไปเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะเมื่อต้องแปลคำว่า "พระเจ้า" ในภาษาฮิบรู คำว่า "พระเจ้า" ในภาษาฮิบรูที่ใช้กันทั่วไปคำหนึ่งคือคำว่า "อีโลฮิม" (Elohim) หมายความว่าผู้มีอำนาจ พระนามที่พระเจ้าต้องการให้เราจดจำจึงเป็นอนุสรณ์ของพระองค์ยาห์เวห์ เอโลฮิม (YAHWEH ELOHIM)หมายความว่าผู้ซึ่งสำแดงพระองค์ในกลุ่มของผู้ที่มีอำนาจทั้งหลายเป็นพระประสงค์ของพระเจ้าที่ทรงต้องการสำแดงลักษณะและตัวตนที่แท้จริงของพระองค์ต่อคนกลุ่มใหญ่ การเชื่อฟังพระวจนะของพระเจ้าช่วยให้เราพัฒนาลักษณะของพระองค์ในตัวเราได้ ถือเป็นการสำแดงพระองค์กับผู้ที่มีศรัทธาแรงกล้า แต่พระนามของพระเจ้าคือคำพยากรณ์ในอนาคต เมื่อโลกนี้เต็มไปด้วยคนที่มีลักษณะและสภาพเหมือนพระองค์ (cp. 2 เปโตร1:4) ถ้าเราปรารถนาจะมีส่วนร่วมในพระนามของพระเจ้า และเป็นเหมือนพระเจ้าคือเป็นอมตะ เพื่อมีชีวิตอันบริบูณณ์ด้วยธรรมเป็นนิรันดร์ เราจะต้องมีส่วนร่วมในพระนามของพระเจ้า ซึ่งจะทำได้ก็ด้วยการรับบัพติศมาในนามแห่งพระองค์ คือพระยาห์เวห์ เอโลฮิม (มัทธิว28:19) ซึ่งจะทำให้เรากลายเป็นผู้สืบทอด ("เมล็ดพันธุ์") ของอับราฮัม (กาลาเทีย3:27-29) ซึ่งได้รับคำสัญญาให้สืบมรดกนิรันดร์บนโลก (ปฐมกาล17:8; โรม4:13) - กลุ่มของ "ผู้ทรงมหิทธิฤทธิ์" ("เอโลฮิม") ซึ่งเป็นกลุ่มที่คำพยากรณ์เรื่องพระนามของพระเจ้าจะเกิดสัมฤทธิผล โดยจะอธิบายให้ละเอียดยิ่งขึ้นในบทที่ 3.41.4 ทูตสวรรค์สิ่งที่เราได้ศึกษาไปแล้วในบทนี้คือการพิจารณาเรื่องทูตสวรรค์:- ดำรงอยู่ในสภาพร่างกายของมนุษย์- ชูพระนามของพระเจ้า- เป็นช่องทางให้พระวิญญาณของพระเจ้าได้กระทำตามพระประสงค์- สอดคล้องกับพระจริยาวัตรและพระประสงค์ของพระเจ้า- และเป็นการสำแดงองค์ของพระเจ้าเราได้กล่าวไปแล้วในบทที่ 1.3 ว่าคำว่า 'พระเจ้า' ที่ใช้ในภาษาฮิบรูทั่วไปคือ 'เอโลฮิม' หมายถึง 'ผู้ทรงมหิทธิฤทธิ์' ซึ่งชูพระนามของพระเจ้า โดยเราอาจเรียก 'ผู้ทรงมหิทธิฤทธิ์' เหล่านี้ว่า 'พระเจ้า' เนื่องจากมีความเกี่ยวโยงอย่างใกล้ชิดกับพระเจ้า บรรดาสรรพสิ่งมีชีวิตเหล่านี้คือทูตสวรรค์บันทึกการสร้างโลกในหนังสือปฐมกาล 1 บอกให้เรารู้ว่าพระเจ้าทรงตรัสถึงบัญญัติบางข้อเกี่ยวกับการสร้าง "ก็เป็นดังนั้น" ทูตสวรรค์คือผู้กระทำตามพระบัญญัติ:"ทูตสวรรค์ ท่านผู้ทรงมหิทธิฤทธิ์ ผู้กระทำตามพระวจนะของพระองค์ และฟังเสียงพระวจนะของพระองค์" (สดุดี103:20)จึงพอสรุปได้ว่าเมื่อเราอ่านเรื่อง 'พระเจ้า' ทรงสร้างโลกนั้น งานนี้แท้จริงทูตสวรรค์เป็นผู้ทำ ในหนังสือโยบ 38:4-7 ก็กล่าวถึงเรื่องนี้ไว้เช่นกัน ตรงนี้จึงนับเป็นช่วงเวลาดีที่จะสรุปเหตุการณ์ต่างๆในการสร้างโลกตามที่บันทึกไว้ในพระธรรมเรื่องปฐมกาล 1:วันที่ 1 "พระเจ้าตรัสว่า จงเกิดความสว่าง ความสว่างก๋เกิดขึ้น" (v.3)วันที่ 2 "พระเจ้าตรัสว่า จงมีภาคพื้น (ท้องฟ้า ผืนกว้าง) ในระหว่างน้ำ แยกน้ำ (บนภาคพื้น) ออกจากน้ำ (เหนือภาคพื้น) กัน ... ก็เป็นดังนั้น" (v.6,7)วันที่ 3 "พระเจ้าตรัสว่า น้ำที่อยู่ใต้ฟ้าจงรวมอยู่แห่งเดียวกัน (ทำให้เกิดเป็นทะเลและมหาสมุทร) ... ที่แห้งจงปรากฏขึ้น ก็เป็นดังนั้น" (v.9)วันที่ 4 "พระเจ้าตรัสว่า จงมีดวงสว่างบนฟ้า ก็เป็นดังนั้น" (v.14,15)วันที่ 5 "พระเจ้าตรัสว่า นำจงอุดมด้วยฝูงสัตว์ที่มีชีวิต และนกจงบินไปมา ... และพระเจ้าทรงสร้างสัตว์ที่มีชีวิตนานาชนิด" (v.20,21) - "ก็เป็นดังนั้น"วันที่ 6 "พระเจ้าตรัสว่า แผ่นดินจงเกิดสัตว์ที่มีชีวิต ... สัตว์ใช้งาน และสัตว์เลื้อยคลาน ... และก็เป็นดังนั้น" (v.24)มนุษย์ถูกสร้างขึ้นในวันที่หกเช่นเดียวกัน "พระเจ้าตรัสว่า ให้เราสร้างมนุษย์ตามฉายาตามอย่างของเรา" (ปฐมกาล1:26) เราได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับบทกลอนนี้ไว้แล้วในบทเรียนที่ 1.2 ตอนนี้เราเพียงต้องการลันทึกไว้ว่า "พระเจ้า" ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงพระเจ้าที่มีตัวตนจริง ข้อความที่กล่าวว่า "ให้เราสร้างมนุษย์" แสดงให้เห็นว่า 'พระเจ้า' กำลังพูดถึงคนมากกว่า 1 คน คำในภาษาฮิบรูที่แปลว่า 'พระเจ้า' ตรงนี้คือคำว่า 'เอโลฮิม (Elohim)' หมายถึง 'ผู้ทรงมหิทธิฤทธิ์' ซึ่งหมายถึงทูตสวรรค์นั่นเอง การที่ที่ทูตสวรรค์ได้สร้างเราขึ้นมาโดยให้มีรูปลักษณ์เหมือนตนเองนั้นหมายความว่าทูตสวรรค์เหล่านั้นจะต้องมีรูปกายเหมือนกับเรา ทูตสวรรค์จึงมีร่างที่มีตัวตนและจับต้องได้จริง ซึ่งเป็นภาพเดียวกับพระเจ้าคำว่า 'ภาพ' ในความหมายนี้หมายถึงมีโครงสร้างพื้นฐานทางสรีระเหมือนกัน ในพระคัมภีร์มี 'ภาพ' อยู่ 2 ภาพ ในความหมายนี้จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะเกิดภาพทั้งสองขึ้นพร้อมกันภาพของพระเจ้า ('ภาพอันศักดิ์สิทธิ์')ไม่บาป (สมบูรณ์แบบ) (โรม9:14; 6:23 cp. สดุดี90:2; มัทธิว5:48; ยากอบ1:13)ไม่ตาย คือมีชีวิตนิรันดร์ (1 ทิโมธี6:16)เต็มไปด้วยอำนาจและพลัง (อิสยาห์40:28)นี่คือภาพของพระเจ้าและทูตสวรรค์ ซึ่งได้มอบให้พระเยซู หลังจากฟื้นคืนพระชนม์ (กจ.13:34; วิวรณ์1:18; ฮิบรู1:3) เป็นภาพที่เราได้รับสัญญาไว้ (ลูกา20:35,36; 2 เปโตร1:4; อิสยาห์40:28 cp.v 31)ภาพของมนุษย์ (Human nature)ล่อให้ทำบาป (ยากอบ1:13-15) โดยจิตที่คิดชั่วร้าย (เยเรมีย์17:9; มะระโก7:21-23)ถูกกำหนดให้ตาย คือไม่มีชีวิตนิรัดร์ (โรม5:12,17; 1 โครินธ์15:22)มีแรงจำกัด ทั้งทางสรีระ (อิสยาห์40:30) และทางจิตใจ (เยเรมีย์10:23)นี่คือภาพที่มนุษย์ทุกคนมีไม่ว่าจะดีหรือเลว จุดสิ้นสุดของภาพนั้นก็คือความตาย (โรม6:23) เป็นภาพที่พระเยซูมีขณะทรงใช้ชีวิตในโลกมนุษย์ (ฮิบรู2:14-18; โรม8:3; ยอห์น2:25; มะระโก10:18)โชคไม่ดีที่คำว่า 'ภาพ' ในภาษาอังกฤษมีความหมายค่อนข้างกว้าง เราใช้คำนี้ในประโยคว่า 'จอห์นมีภาพลักษณ์ของความใจดี - เขาไม่มีภาพของความหยาบคาย แต่ฉันคิดว่าเขาค่อนข้างภูมิใจในรถยนต์ของเขา ซึ่งมีลักษณะเหมือนมนุษย์' นี่ไม่ใช่ความหมายของคำว่า 'ภาพ' ที่เราใช้ในบทเรียนรูปลักษณ์ของทูตสวรรค์ทูตสวรรค์มีฉายาเหมือนพระเจ้า จึงไม่มีบาป และไม่มีวันตาย โดยเห็นว่าบาปคือสิ่งที่นำไปสู่ความตาย (โรม6:23) ทูตสวรรค์จะต้องมีรูปร่างสรีระ ด้วยเหตุนี้เองเมื่อทูตสวรรค์ปรากฏกายบนโลก จึงมีรูปร่างเหมือนกับมนุษย์:- ทูตสวรรค์มาหาอับราฮัมเพื่อกล่าวพระวจนะของพระเจ้าให้เขาฟัง ทูตสวรรค์ถูกบรรยายไว้ว่าเป็น "ชายสามคน" ซึ่งอับราฮัมปฏิบัติด้วยเหมือนเป็นมนุษย์ เนื่องจากนั่นคือรูปกายภายนอกของทูตสวรรค์ "ข้าจะเอาน้ำมานิดหน่อยให้ท่านล้างเท้า และพักใต้ต้นไม้" (ปฐก.18:4)- ทูตสวรรค์สองคนเดินทางไปหาโลทที่เมืองโสโดม ซึ่งก็ได้รับการรับรองในฐานะมนุษย์จากโลทและคนในเมืองโสโดมเท่านั้น "ฝ่ายทูตสวรรค์สององค์นั้นมาถึงเมืองโสโดม" โดยโลทเชิญทั้งสองมามาค้างด้วย แต่ชายชาวเมืองโสโดมพากันมาที่เรือน ร้องขู่โลทว่า "ชายที่เข้ามาหาเจ้าคืนนี้อยู่ที่ไหน?" โลทอ้อนวอนว่า "ชายเหล่านี้ไม่ได้ทำอะไร" บันทึกนี้ยังเรียกทูตสวรรค์ว่า "ชาย" "ชายทั้งสอง (ทูตสวรรค์) ยื่นมือออกไป" และช่วยเหลือโลท "และชายทั้งสองจึงพูดกับโลท ... พระเจ้าทรงใช้เรามาทำลาย" เมืองโสโดม (ปฐมกาล19:1,5,8, 10,12, 13)- พระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาใหม่ซึ่งกล่าวถึงเหตุการณ์เหล่านี้ ยืนยันว่าทูตสวรรค์อยู่ในร่างของชาย: "อย่าละเลยที่จะต้อนรับแขกแปลกหน้า เพราะบางคน (เช่น อับราฮัมและโลท) ก็ได้ต้อนรับทูตสวรรค์โดยไม่รู้ตัว" (ฮิบรู13:2)- ยาโคบปล้ำอยู่กับชายแปลกหน้าตลอดคืน (ปฐมกาล32:24) ซึ่งภายหลังเราจึงรู้ว่าเป็นทูตสวรรค์ (โฮเชยา12:4)- ชายสองคนในชุดขาวอยู่ในที่ที่พระเยซูฟื้นคืนพระชนม์ (ลูกา24:4) และการเสด็จสู่สวรรค์ (กิจการอัครทูต1:10) ของพระเยซู เห็นได้ชัดว่าชายเหล่านี้คือทูตสวรรค์- จงพิจารณานัยของข้อความที่ว่า "มาตราวัดของมนุษย์ ซึ่งเหมือนกันกับของทูตสวรรค์" (วิวรณ์21:17)ทูตสวรรค์ไม่ทำผิดบาปทูตสวรรค์มีฉายาเหมือนพระเจ้า จึงไม่ตาย โดยเห็นว่าบาปคือสิ่งที่นำไปสู่ความตาย ทูตสวรรค์จึงไม่ทำผิดบาป คำในภาษากรีกและฮิบรูที่แปลว่า 'ทูตสวรรค์' มีความหมายว่า 'ผู้นำสาร' ทูตสวรรค์คือผู้นำสารหรือผู้รับใช้ของพระเจ้า และเชื่อฟังพระองค์ จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะคิดว่าทูตสวรรค์มีบาป ดังนั้นคำว่า 'aggelos' ในภาษากรีก ซึ่งแปลว่า 'ทูตสวรรค์' ยังมีความหมายว่า 'ผู้นำสาร' ได้อีกด้วยเมื่อพูดถึงมนุษย์ เช่น ยอห์น (มัทธิว11:10) และผู้นำสาร (ลูกา7:24); ผู้นำสารของพระเยซู (ลูกา9:52) และชายผู้สอดแนมดู Jericho (ยากอบ2:25) จึงเป็นไปได้ทีเดียวที่ 'ทูตสวรรค์' ในความหมายว่าเป็นผู้นำสารที่เป็นมนุษย์สามารถทำบาปได้ข้อความต่อไปนี้แสดงให้เห็นว่าทูตสวรรค์ทั้งหมด (ไม่ใช่เฉพาะบางคนเท่านั้น) โดยปกติแล้วจะเชื่อฟังพระเจ้า และไม่มีบาป:"พระเจ้าทรงสถาปนาบัลลังก์ของพระองค์ไว้ในฟ้าสวรรค์ และราชอาณาจักรของพระองค์ครองทุกสิ่งอยู่ (จะไม่มีการก่อกบฎต่อพระเจ้าในสวรรค์) ข้าแต่ท่านทั้งหลาย ผู้เป็นทูตสวรรค์ของพระองค์ จงถวายสาธุการแด่พระเจ้า ท่านผู้ทรงมหิทธิฤทธิ์ ผู้กระทำตามพระวจนะของของพระองค์ และฟังเสียงพระวจนะของพระองค์ พลโยธาทั้งสิ้นของพระองค์จงถวายสาธุการแด่พระเจ้า คือบรรดาผู้รับใช้ที่กระทำตามพระทัยพระองค์" (สดุดี103:19-21)"ทูตสวรรค์ทั้งหลายของพระองค์จงสรรเสริญพระองค์ ... พลโยธาของพระองค์ (สดุดี148:2)"ทูตสวรรค์ทั้งปวง ... เป็นแต่เพียงวิญญาณผู้ปรนนิบัติ ที่พระองค์ทรงส่งไปช่วยเหลือบรรดาผู้ที่จะได้รับความรอดกระนั้นมิใช่หรือ?" (ฮิบรู1:13,14)การใช้คำว่า "ทั้งปวง" ซ้ำๆ แสดงให้เห็นว่าทูตสวรรค์ไม่ได้แบ่งออกเป็นสองกลุ่ม คือฝ่ายดีและฝ่ายชั่ว สิ่งสำคัญในการทำความเข้าใจกับภาพของทูตสวรรค์ก็คือรางวัลจากการมีศรัทธาคือการแบ่งปันภาพลักษณ์ "เขาเหล่านั้นที่สมควร ... ไม่มีการสมรสกัน ... เขาจะตายอีกไม่ได้ เพราะเขาเป็นเหมือนทูตสวรรค์" (ลูกา20:35,36) ประเด็นสำคัญที่ต้องจับให้ได้คือ ทูตสวรรค์ไม่มีวันตาย: "ความตาย ... ไม่สามารถทำอะไรทูตสวรรค์ได้" (ฮีบรู 2:16 Diaglott margin) ถ้าทูตสวรรค์ทำบาปได้ พวกที่สมควรได้รับรางวัลเมื่อพระเยซูทรงกลับมาก็ยังทำบาปได้ และเมื่อเห็นว่าบาปเป็นสิ่งที่นำไปสู่ความตาย (โรม6:23) พวกนี้จึงไม่มีชีวิตนิรันดร์ ถ้าเราทำบาปได้ เราก็ตายได้ ดังนั้นการกล่าวว่าทูตสวรรค์ทำบาปได้จึงทำให้ชีวิตนิรันดร์ซึ่งพระเจ้าสัญญาว่าจะให้ไร้ความหมาย โดยมองว่ารางวัลที่เราจะได้รับคือการมีคุณสมบัติเหมือนทูตสวรรค์ การอ้างอิงถึง "ทูตสวรรค์" (ลูกา20:35,36) แสดงให้เห็นว่าไม่มีการแบ่งแยกทูตสวรรค์ออกเป็นฝ่ายดีและฝ่ายชั่ว จะมีเพียงทูตสวรรค์เพียงประเภทเดียวเท่านั้นถ้าทูตสวรรค์ทำบาปได้ พระเจ้าก็ไร้ซึ่งอำนาจในการเข้ามายุ่งเกี่ยวกับชีวิตเรา และเรื่องทางโลกอย่างชอบธรรม โดยมองว่าพระเจ้าทรงสำแดงให้เห็นว่าพระองค์ทรงงานผ่านทางทูตสวรรค์ (สดุดี103:19-21) ทูตสวรรค์คือ 'วิญญาณที่พระเจ้าทรงสร้างขึ้น' ในแง่ที่พระองค์ทรงทำทุกอย่างได้สำเร็จด้วยจิต/อำนาจ ผ่านทางทูตสวรรค์ (สดุดี 104:4) จึงเป็นไปไม่ได้ที่ทูตสวรรค์จะไม่เชื่อฟังพระเจ้า ชาวคริสเตียนควรจะอธิฐานให้อาณาจักรของพระเจ้ามาปรากฏบนโลกทุกวัน ให้พระประสงค์ของพระองค์สัมฤทธิผลเช่นเดียวกับที่ทำสำเร็จในสวรรค์ (มัทธิว 6:10) ถ้าทูตสวรรค์ของพระเจ้าต้องต่อสู้กับทูตสวรรค์ฝ่ายเลวในสวรรค์ พระประสงค์ก็ยังคงไม่สัมฤทธิผลในสวรรค์ และจะเกิดสถานการณ์เช่นเดียวกันในอณาจักรหน้าของพระองค์ การใช้ชีวิตนิรันดร์ในโลกที่มีแต่การสู้รบระหว่างผู้มีบาปกับผู้เชื่อฟังเป็นอนาคตที่ไม่สร้างแรงจูงใจเลย แต่นั่นไม่ใช่ประเด็นที่จะพูดถึงแต่...?คริสตจักรหลายแห่งคิดว่าทูตสวรรค์ทำบาปได้ และทูตสวรรค์นั้นยังต้องอยู่รับผิดชอบต่อบาปและปัญหาที่เกิดขึ้นบนโลก เราจะพูดถึงแนวคิดที่ผิดหลักนี้อย่างละเอียดในบทเรียนที่ 6 ส่วนตอนนี้เราจะเน้นประเด็นดังต่อไปนี้:-- เป็นไปได้ที่อาจจะมีการสร้างสรรพสิ่งขึ้นมาก่อนเรา เช่นที่บันทึกไว้ในหนังสือปฐมกาล 1 และเป็นไปได้ที่ปัจจุบันทูตสวรรค์จะตระหนักถึง "ความดีและความชั่ว" (ปฐก. 3:5) ผ่านประสบการณ์ที่ได้รับเช่นเดียวกับเราได้รับในชีวิต ทูตสวรรค์บางองค์ที่ได้ทำบาปสมัยนั้นไม่ได้รับการตัดสินลงโทษ แต่ทั้งหมดนี่คือการคาดเดา ซึ่งจิตมนุษย์โน้มนำให้เชื่ออยู่แล้ว พระคัมภีร์บอกให้เรารู้ว่าปัจจุบันเราต้องการรู้อะไร ซึ่งก็คือไม่มีทูตสวรรค์ที่ทำบาป ทูตสวรรค์ทุกอง๕เชื่อฟังคำของพระเจ้า- ไม่มีทูตสวรรค์ที่ทำบาปอยู่ในสวรรค์ โดยมองว่าพระเจ้ามี "พระเนตรบริสุทธิ์เกินกว่าจะทอดพระเนตรเห็นความชั่ว" (ฮาบากุก1:13) หนังสือสดุดี 5:4,5 อธิบายไว้ในลักษณะเดียวกันว่า "ความชั่วร้ายจะไม่อาศัยอยู่กับพระองค์ คนโอ้อวดจะไม่ยืนอยู่เฉพาะพระเนตรของพระองค์" ที่พระตำหนักในสวรรค์ของพระองค์ ดังนั้นการคิดว่ามีทูตสวรรค์ก่อกบฎต่อพระเจ้าในสวรรค์ดูจะขัดแย้งกับข้อความข้างต้น- คำว่า "ทูตสวรรค์" ที่แปลจากภาษากรีกมีความหมายว่า "ผู้นำสาร" และยังหมายถึงคนอีกด้วยดังที่กล่าวข้างต้น "ผู้นำสาร" ที่เป็นมนุษย์นี้จึงทำบาปได้- พวกป่าเถื่อนมักจะเชื่อว่ามีคนบาปชั่วช้าที่ถูกกล่าวโทษว่าเป็นชีวิตด้านลบ เช่นเดียวกับความคิดของคนนอกศาสนาเรื่องคริสมาส- มีข้อความในพระคัมภีร์เพียงไม่กี่ตอนที่อาจทำให้เกิดความเข้าใจไขว้เขวว่า ยังมีทูตสวรรค์ที่มีบาปอยู่ ซึ่งจะเห็นได้จากหนังสือเรื่อง "ดั้นด้นหาซาตาน" ที่มีผู้พิมพ์จำหน่าย ข้อความเหล่านี้ไม่อาจปล่อยทิ้งไว้ให้ขัดแย้งกับความสมบูรณ์ของคำสอนในพระคัมภีร์ที่มีอยู่ได้บทเรียนที่ 1: คำถาม1. อะไรช่วยให้เราเกิดศรัทธาในพระเจ้าได้มากที่สุด?a) การไปโบสถ์b) การศึกษาพระคัมภีร์ด้วยการสวดอธิษฐานc) การพูดคุยกับพี่น้องชาวคริสเตียนd) การมองดูธรรมชาติ2. ข้อใดข้างล่างเป็นคำจำกัดความของคำว่าพระเจ้าที่ถูกต้อง?ก) เป็นเพียงความคิดในสมองเท่านั้นข) เป็นวิญญาณหนึ่งที่ล่องลอยอยู่ในอากาศค) ไม่มีพระเจ้าง) เป็นคนที่มีรูปลักษณ์ตนตนจริง3. พระเจ้าคือก) เอกภาพข) พระเจ้าสามองค์ค) พระเจ้าหลายๆองค์ที่รวมอยู่ในองค์เดียวกันง) ไม่มีทางบรรยายความได้4. พระนามของพระเจ้าที่ว่า 'ยาห์เวห์ เอโลฮิม (Yahweh Elohim)' หมายถึงอะไร?ก) พระเจ้าผู้ที่จะเป็นข) พรเจ้าผู้ที่จะสำแดงพระองค์ในกลุ่มผู้ทรงมหิทธิฤทธิ์ค) ผู้ยิ่งใหญ่ง) พลัง5. คำว่า 'ทูตสวรรค์' หมายถึงอะไร?ก) เหมือนมนุษย์ข) มีปีกค) ผู้นำสารง) ผู้ช่วย6. ทูตสวรรค์ทำบาปได้หรือไม่?ได้ไม่ได้
เขียนโดย king love human ที่ 10:03 หลังเที่ยง 0 ความคิดเห็น