บทที่1 พระเจ้าบทที่2 พระวิญญาณของพระเจ้าบทที่3 พระสัญญาของพระเจ้า บทที่4 พระเจ้ากับความตายบทที่5 แผ่นดินของพระเจ้าบทที่6 พระเจ้าและความชั่วร้ายบทที่7 การบังเกิดพระเยซูบทที่8 ธรรมชาติของพระเยซูบทที่9 การรับบัพติศมาบทที่10 ชีวิตในพระคริสต์
คำเผยพระวจนะส่วนตัว
1.1 การดำรงพระชนม์ชีพอยู่ของพระเจ้า
"ผู้ที่จะมาเฝ้าพระเจ้าได้นั้น ต้องเชื่อว่าพระองค์ทรงดำรงพระชนม์อยู่ และพระองค์ทรงเป็นผู้ประทานบำเหน็จให้แก่ทุกคนที่แสวงหาพระองค์" (ฮิบรู 11:6) เนื้อหาของบทเรียนนี้จะช่วยให้ผู้ที่ต้องการมาหาพระเจ้า ก่อนอื่นจะต้องเชื่อว่า "พระเจ้าทรงพระชนม์อยู่" เราจึงไม่กังวลกับหลักฐานที่ยืนยันศรัทธาในการมีพระชมน์ชีพอยู่ของพระเจ้า การสำรวจโครงสร้างอันซับซ้อนของร่างกาย (cp. Ps.139:14) และรูปแบบที่เด่นชัดในดอกไม้ การเพ่งพินิจน์ความว่างเปล่าอันไพศาลของราตรีกาลที่ใสกระจ่าง ภาพสะท้อนชีวิตเหล่านี้และอื่นๆอีกมากมายทำให้ความเชื่อว่าโลกนี้ไม่มีพระเจ้ากลายเป็นสิ่งไม่น่าเชื่อ การเชื่อว่าไม่มีพระเจ้าดูจะต้องใช้ศรัทธามากกว่าการเชื่อว่ามีพระเจ้าอยู่จริง หากขาดพระเจ้าก็ไร้ซึ่งระเบียบ วัตถุประสงค์ และคำอธิบายในเรื่องจักรวาล ซึ่งสิ่งนี้จึงสะท้อนอยู่ในชีวิตของผู้ที่ไม่เชื่อในพระเจ้า เมื่อเป็นเช่นนี้จึงไม่น่าแปลกที่มนุษย์ส่วนใหญ่มีความเชื่อในพระเจ้าต่างกัน แม้แต่ในสังคมที่วัตถุกลายเป็นพระเจ้าก็ตาม
แต่ก็มีความแตกต่างกันมากระหว่างความเชื่อว่ามีพลังที่เหนือกว่า กับความเชื่อว่าพระเจ้าจะประทานบำเหน็จตอบแทนให้แก่ผู้ที่รับใช้พระองค์ ฮิบรู 11:6 กล่าวถึงประเด็นนี้ว่า เรา
"ต้องเชื่อว่าพระองค์ทรงดำรงพระชนม์อยู่
และ
พระองค์ทรงเป็นผู้ประทานบำเหน็จให้แก่ทุกคนที่แสวงหาพระองค์"
ข้อพระคัมภีร์ส่วนใหญ่เป็นเรื่องเล่าในประวัติศาสตร์ของชนชาติอิสราเอลของพระเจ้า ประเด็นที่มีการกล่าวกันบ่อยครั้งคือ ความเชื่อของชนชาติยิวว่าพระเจ้าทรงดำรงพระชนม์อยู่มีไม่เท่ากับความศรัทธาต่อสิ่งที่พระองค์ทรงให้สัญญา ชนชาติยิวได้รับการบอกเล่าจากโมเสสผู้นำผู้ยิ่งใหญ่ของเขาว่า "จงทราบเสียในวันนี้ และตรึกตรองอยู่ในใจว่า พระเยโฮวาห์เป็นพระเจ้าในฟ้าสวรรค์เบื้องบน และบนแผ่นดินเบื้องล่างหามีพระเจ้าอื่นใดอีกไม่เลย เพราะฉะนั้นพวกท่านจงรักษากฎเกณฑ์ และพระราชบัญญัติของพระองค์" (เฉลยธรรมบัญญัติ 4:39, 40)
มีการกล่าวถึงประเด็นเดิมอีกว่า การที่จิตของเราตระหนักว่าพระเจ้าทรงพระชนม์ชีพอยู่นั้น ไม่ได้หมายความว่าเราได้รับการต้อนรับจากพระเจ้าโดยอัตโนมัติ ถ้าเราเชื่ออย่างจริงจังว่าเรามีพระผู้ทรงสร้าง เราก็ควรจะ "รักษากฎเกณฑ์ และพระราชบัญญัติของพระองค์" บทเรียนนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายพระบัญญัติ และวิธีปฏิบัติตามพระบัญญัติ เมื่อได้อ่านพระคัมภีร์ เราจะยิ่งรู้สึกศรัทธามากขึ้นว่า พระเจ้าทรงพระชนม์ชีพอยู่:
"ฉะนั้นความเชื่อเกิดขึ้นได้ก็เพราะการได้ยิน และการได้ยินเกิดขึ้นได้ก็เพราะการประกาศพระคริสต์" (โรม 10: 17) เช่นเดียวกับในหนังสืออิสยาห์ 43:9-12 ที่ทำให้ประจักษ์ว่าความเข้าใจในคำพยากรณ์อนาคตของพระเจ้า ช่วยให้เรารู้ว่า "เราเป็นพระเจ้า" (อิสยาห์ 43:13) พระนามแห่งพระเจ้าที่ว่า "เราเป็นผู้ซึ่งเราเป็น" คือความเป็นจริงอันสมบูรณ์แบบ (อพยพ 3:14) อัครทูตเปาโลเดินทางมายังเมืองชื่อเบเรีย (Berea) ซึ่งปัจจุบันอยู่ในประเทศกรีซตอยเหนือ โดยปกติเปาโลจะประกาศข่าวประเสริฐ ('ข่าวดี') ของพระเจ้า แต่แทนที่คนในเมืองจะน้อมรับคำสอนของเปาโล "เขามีใจเลื่อมใสรับพระวจนะของพระเจ้า และค้นดูพระคัมภีร์ทุกวัน หวังจะรู้ว่าข้อความเหล่านั้นจะจริงดังกล่าวหรือไม่ เหตุฉะนั้นพวกเขามีหลายคนได้เชื่อถือ" (กิจการของอัครทูต 17:11,12) ความเชื่อของพวกเขาเกิดจากการเปิดใจ และการค้นดูพระคัมภีร์อย่างมีระบบ ('ข้อความเหล่านั้น') และสม่ำเสมอ ('ทุกวัน') การมีศรัทธาที่แท้จริงจึงมิได้เกิดจากพระเจ้าประทานให้ในบัดดล ด้วยการผ่าตัดเปลี่ยนจิตให้เกิดศรัทธา โดยไม่มีความเกี่ยวพันกับพระวจนะของพระเจ้าเลย ไม่เช่นนั้นคงไม่มีคนเข้าร่วมในขบวนรณรงค์ของบิลลี่แกรแฮม หรือการชุมนุมในวันเทศกาลเพนเทคอสต์ในฐานะ "ผู้ศรัทธา" การค้นดูพระคัมภีร์จะต้องใช้เวลานานเท่าไรในกรณีนี้? การขาดศรัทธาที่แท้จริงในพระคัมภีร์เกิดจากความว่างเปล่า ซึ่ง "ผู้เข้ารีต" จะพบหลังจากหันมาเชื่อในพระเจ้า และเหตุผลที่มีคนจำนวนมากหันเหความเชื่อออกจากคำสอนของคริสตศาสนา (Evangelical Movement)
บทเรียนนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อหารูปแบบที่เหมาะสมในการค้นพระคัมภีร์ได้อย่างมีระบบ เพื่อให้คุณเกิดความเชื่อเช่นเดียวกัน ดังนั้นในการประกาศข่าวประเสริฐจึงมักจะให้ความสำคัญกับ ความสัมพันธ์ระหว่างการรับฟังข่าวประเสริฐ กับการมีศรัทธาที่แท้จริงเสมอ
ขอทรงโปรดชำระเขาให้บริสุทธิ์ด้วยความจริง
- "ชาวโครินธ์หลายคนเมื่อได้ฟังเปาโลแล้ว ก็ได้เชื่อถือและรับบัพติศมา" (กิจการของอัครทูต18:8)
- เรา "ฟัง ข่าวประเสริฐและเชื่อ" (กิจการของอัครทูต15:7)
- "เราทั้งหลายก็ได้ประกาศอย่างที่กล่าวมานั้น และท่านทั้งหลายก็ได้เชื่ออย่างนั้น" (1 โครินธ์15:11)
- คำเปรียบนั้นก็อย่างนี้ "เมล็ดพืช" นั้นได้แก่พระวจนะของพระเจ้า (ลูกา8:11); มีความเชื่อเท่าเมล็ดพืชเมล็ดหนึ่ง (ลูกา17:6), ความเชื่อมาจากการยอมรับ "คำที่ก่อให้เกิดความเชื่อ" (โรม10:8), "เจริญด้วยคำสอนแห่งความเชื่อ และด้วยหลักธรรมอันดีที่ท่านได้ประพฤติตามนั้น" (1 ทิโมธี4:6), เข้าไปในใจซึ่งเปิดรับความเชื่อในพระเจ้าและพระวจนะของพระองค์ (กาลาเทีย2:2 cp. ฮีบรู4:2)
- อัครทูตยอห์นกล่าวถึงบันทึกของพระเจ้าว่า "เขาพูดความจริง เพื่อท่านทั้งหลายจะได้เชื่อ" (ยอห์น 19:35) และพระวจนะของพระองค์เป็น "ความจริง" (ยอห์น17:17) - ซึ่งเราเชื่อได้
1.2 พระเจ้าทรงมีตัวตน
เนื้อหาในพระคัมภีร์มีความสูงส่งและยิ่งใหญ่ จากการที่พระเจ้าทรงสำแดงพระองค์เป็นเสมือนมนุษย์ที่มีตัวตนจริง และสามารถจับต้องได้ ชาวคริสเตียนได้รับคำสอนตั้งแต่ต้นว่า พระเยซูคือพระบุตรของพระเจ้า ถ้าพระเจ้าไม่มีตัวตนจริง ก็เป็นไปไม่ได้ที่พระองค์จะทรงมีพระบุตร ซึ่งมี "รูปลักษณ์เป็นมนุษย์" (ฮิบรู 1:3) นอกจากนั้นยังยากที่เราจะพัฒนาความสัมพันธ์แบบบุคคลต่อบุคคลกับ 'พระเจ้า' ได้ หาก 'พระเจ้า' เป็นเพียงมโนทัศน์ หรือจิตที่ล่องลอยอยู่ในความว่างเปล่าเท่านั้น จึงเป็นเรื่องน่าเศร้าที่ศาสนาส่วนใหญ่มีแนวคิดเรื่องพระเจ้าที่ไม่มีตัวตนจริง และไม่สามารถจับต้องได้
พระเจ้าทรงความยิ่งใหญ่หาที่สุดมิได้เหนือกว่ามนุษย์เช่นเรา จึงไม่น่าแปลกที่มีคนจำนวนมากหยุดศรัทธาของตนเองไว้กับคำสัญญาว่า เราจะได้เห็นพระเจ้าในที่สุด ชนชาติอิสราเอลขาดศรัทธาที่จะมองเห็น "รูปร่าง" ของพระเจ้า (ยอห์น5:37) ซึ่งสำแดงให้ประจักษ์ว่าพระองค์ทรงมีรูปร่างที่แท้จริง ศรัทธาดังกล่าวเกิดจากการได้รู้จักพระเจ้า และเชื่อในพระวจนะ:
"บุคคลผู้ใดมีใจบริสุทธิ์ ผู้นั้นเป็นสุข เพราะว่าเขาจะได้เห็นพระเจ้า" (มัทธิว5:8)
"บรรดาผู้รับใช้ของพระองค์ (พระเจ้า) จะนมัสการพระองค์ เขาเหล่านั้นจะเห็นพระพักตร์พระองค์; และพระนามของพระองค์ (พระเจ้า - วิวรณ์3:12) จะประทับอยู่ที่หน้าผากเขา" (วิวรณ์22:3,4)
ความหวังที่วิเศษเช่นนั้นถ้าเราเชื่ออย่างจริงจัง ก็จะส่งให้เกิดผลทางปฏิบัติในชีวิตของเราเอง:
"จงอุตส่าห์ที่จะอยู่อย่างสงบกับคนทั้งหลาย และอุตส่าห์ที่จะได้ใจบริสุทธิ์ ซึ่งถ้าใจไม่บริสุทธิ์ก็จะไม่มีผู้ใดได้เห็นองค์พระผู้เป็นเจ้าเลย" (ฮีบรู12:14)
เราไม่ควรสบถสาบาน เพราะ We should not swear, because "ผู้ใดจะสาบานอ้างสวรรค์ ก็สาบานอ้างพระที่นั่งของพระเจ้า และอ้างพระองค์ผู้ประทับบนพระที่นั่งนั้นด้วย" (มัทธิว23:22). นี่คงเป็นเรื่องไร้สาระถ้าพระเจ้าทรงไม่มีตัวตนจริง
"เราจะเห็นพระองค์อย่างที่พระองค์ทรงเป็นอยู่นั้น (ปรากฏพระองค์ในรูปของพระเยซู) และทุกคนที่มีความหวังอย่างนี้ ก็ชำระตนให้บริสุทธิ์ดังที่พระองค์ทรงบริสุทธิ์" (1 ยอห์น3:2,3)
ในช่วงชีวิตนี้เรายังมีความเข้าใจเกี่ยวกับพระบิดาในสวรรค์น้อยมาก แต่เราสามารถมองทะลุไปเบื้องหน้า ผ่านความมืดมนอันสับสนของชีวิตปัจจุบัน เพื่อไปพบพระเจ้าได้ในที่สุด การได้เห็นพระวรกายของพระเจ้าย่อมทำให้เราเข้าใจพระองค์ได้ดียิ่งขึ้นอย่างไม่ต้องสงสัย นั่นจึงทำให้โยบปลื้มปิติกับประสบการณ์ที่เขาได้รับจากพระเจ้าในวันสุดท้ายของชีวิต แม้ว่าจะต้องทนทุกข์ทรมานอย่างแสนสาหัสก็ตาม:
"หลังจากผิวหนังของข้าถูกทำลาย (หมายถึงความตาย) ไปอย่างนี้แล้วโดยปราศจากเนื้อหนังของข้า ข้าจะเห็นพระเจ้า: ผู้ซึ่งข้าจะได้เห็นเอง และนัยน์ตาของข้าจะได้เห็นไม่ใช่คนอื่น" (โยบ19:26,27)
และอัครทูตเปาโลร้องออกมาด้วยความเจ็บปวดและสับสน:
"บัดนี้เราเห็นสลัวๆเหมือนดูในกระจก แต่เวลานั้นจะได้เห็นพระพักตร์ชัดเจน" (1 โครินธ์13:12)
ความเข้าใจที่ถูกต้องในพระเจ้าคือหัวใจสำคัญ ที่จะทำให้เราเข้าถึงหลักคำสอนสำคัญๆในพระคัมภีร์ได้ การมีมโนคติที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับพระเจ้า จะทำให้ความเป็นจริงในพระคัมภีร์เลือนลางไป เช่นเดียวกันกับความเท็จเมื่อเกิดขึ้นครั้งหนึ่งก็จะนำไปสู่ความเท็จอื่นๆต่อไปเรื่อยๆ ถ้าคุณอ่านแล้วเห็นว่าข้อความในหนังสือบทนี้น่าเชื่อถือ แม้จะเป็นเพียงบางส่วนก็ตาม จะเกิดคำถามตามมาว่า 'คุณรู้จักพระเจ้าได้จริงหรือไม่?' ซึ่งเราจะได้ดูจากคำสอนเกี่ยวกับพระเจ้าในพระคัมภีร์ต่อไป
1.3 พระนามและพระกิตติคุณของพระเจ้า
ถ้ามีพระเจ้าจริง ก็น่าจะมีเหตุผลให้เชื่อได้ว่าพระองค์จะต้องคิดหาวิธีบอกเรื่องราวของพระองค์แก่เรา เราเชื่อว่าพระคัมภีร์คือสื่อที่พระเจ้าใช้สำแดงพระองค์ต่อมนุษย์ และพระคัมภีร์ทำให้เราได้เห็นพระกิตติคุณของพระเจ้าที่สำแดงออกมา นี่คือเหตุที่พระคัมภีร์บรรยายพระวจนะของพระเจ้าว่าเป็น "เมล็ดพันธ์" (เปโตร1:23) เพราะถ้าพระวจนะมีผลต่อจิตใจของเรา ทำให้มีสิ่งก่อกำเนิดขึ้นภายในที่มีลักษณะของพระเจ้า (ยากอบ1:18; 2 โครินธ์5:17) ดังนั้นยิ่งเราเชื่อในพระวจนะของพระเจ้า และนำบทเรียนมาใช้ให้เกิดประโยชน์มากเท่าไร เราก็จะยิ่ง "เป็นไปตามลักษณะพระฉายแห่งพระบุตรของพระองค์" (โรม8:29) ซึ่งมีลักษณะอันเป็นพระฉายที่สมบูรณ์แบบของพระเจ้า (โคโลสี1:15) มีคุณค่าในการศึกษาพระคัมภีร์ในแง่ของประวัติศาสตร์ ซึ่งมีเหตุการณ์ต่างๆ ให้เราได้ศึกษาและเรียนรู้ว่าพระเจ้าทรงจัดการกับมนุษย์และชนชาติต่างๆอย่างไร โดยจะเป็นไปในลักษณะเช่นเดียวกันตลอด
ในหนังสือฮีบรูชื่อของคนเรามักจะสะท้อนให้เห็นถึงลักษณะและ/หรือข้อมูลเฉพาะของบุคคลคนนั้น ตัวอย่าวเช่น:
'เยซู'= 'ผู้ช่วยให้รอด' - เพราะ "ท่านเป็นผู้ที่จะโปรดช่วยชนชาติท่านให้รอดจากความผิดบาปของเขา" (มัทธิว1:21)
'อับราฮัม'= 'บิดาของประชาชาติมากมาย' - "เราให้เจ้าเป็นบิดาของประชาชาติมากมาย" (ปฐมกาล17:5)
จึงเชื่อได้ว่าพระนามและพระกิตติศัพท์ของพระเจ้าจะทำให้เราได้ทราบข้อมูลของพระองค์มากมาย เนื่องจากพระเจ้าทรงมีพระจริยาวัตรและพระประสงค์มากมายหลายด้าน จึงทำให้พระองค์ทรงมีพระนามมากเกินกว่า 1 พระนาม ซึ่งขอแนะนำให้ศึกษาพระนามของพระเจ้าอย่างละเอียดหลังจากทำพิธีบัพติศมาแล้ว การแสดงความชื่นชมในพระจริยาวัตรของพระเจ้าผ่านทางการเรียกขานพระนาม ควรจะดำรงอยู่ตลอดชั่วชีวิตที่เราได้มอบให้พระองค์ สิ่งที่จะกล่าวต่อไปคือบทนำ
เมื่อโมเสสต้องการจะรู้จักพระเจ้าให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น เพื่อเสริมแรงศรัทธาในช่วงเวลาที่ประสบความทุกข์นั้น ทูตได้ "ออกพระนามพระเจ้า: พระเยโฮวาห์ พระเยโฮวาห์ พระเจ้าผู้ทรงพระกรุณา ทรงกอปรด้วยพระคุณ ทรงกริ้วช้า และบริบูรณ์ด้วยความรักมั่นคง และความสัตย์จริง ต่อมนุษย์กระทั่งพันชั่วอายุ ผู้ทรงโปรดยกโทษการล่วงละเมิด การทรยศ และบาปของเขาเสีย แต่จะทรงถือว่าไม่มีโทษก็หามิได้" (อพยพ34:5-7)
นี่เป็นข้อพิสูจน์ที่เห็นได้ชัดว่าพระเจ้าทรงหยั่งรู้ถึงพระจริยวัตรของพระองค์ การมีพระจริยวัตรเช่นนี้เป็นข้อพิสูจน์ให้เห็นว่าพระเจ้าทรงมีพระวรกายจริง จึงเป็นเรื่องไร้สาระที่จะชี้แจงว่าจิตวิญญาณจะมีลักษณะซึ่งสามารถพัฒนาได้ในมนุษย์เช่นเรา
พระเจ้าทรงเลือกพระนามเฉพาะ ที่พระองค์ต้องการให้คนของพระองค์รู้จักและจดจำ เป็นพระนามที่เป็นบทสรุป และเป็นส่วนสำคัญในพระประสงค์ที่พระองค์ทรงมีกับมนุษย์
ชนชาติอิสราเอลเป็นทาสในอียิปต์ และต้องการให้มีการย้ำเตือนถึงพระประสงค์ของพระเจ้า โมเสสได้รับการบอกกล่าวให้ออกพระนามของพระเจ้าแก่ชนชาติอิสราเอล เพื่อกระตุ้นเตือนให้พวกเขาอพยพออกจากอียิปต์ และเริ่มการเดินทางไปยังดินแดนแห่งความหวัง (cp. 1 โครินธ์10:1) เราเองก็เช่นกันจำเป็นต้องเข้าใจหลักพื้นฐานเกี่ยวกับพระนามของพระเจ้า ก่อนจะรับบัพติศมา และเริ่มการเดินทางสู่อาณาจักรของพระเจ้า
พระเจ้าทรงบอกกับชนชาติอิสราเอลว่าพระนามของพระองค์คือ ยาห์เวห์ (YAHWEH) แปลว่า "เราเป็นผู้ซึ่งเราเป็น" หรือถ้าให้ถูกต้องยิ่งขึ้นต้องแปลว่า "เราจะเป็นผู้ซึ่งเราจะเป็น" (อพยพ3:13-15) พระนามนี้ได้รับการขยายความเพิ่มเติมเล็กน้อยว่า: "พระเจ้าจึงตรัสกับโมเสสอีกว่า เจ้าจงกล่าวแก่ประชากรอิสราเอลว่าดังนี้ พระเยโฮวาห์ พระเจ้าแห่งบรรพบุรุษของท่าน คือพระเจ้าของอับราฮัม พระเจ้าของอิสอัค และพระเจ้าของยาโคบ ... นี่แหละเป็นนามของเราตลอดไปเป็นนิตย์ นี่แหละเป็นอนุสรณ์ของเราตลอดทุกชั่วชาติพันธ์" (อพยพ3:15)
ดังนั้นพระนามเต็มของพระเจ้าก็คือ "พระเจ้า"
พระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาเดิมส่วนใหญ่เขียนเป็นภาษาฮิบรู การแปลเป็นภาษาอังกฤษทำให้รายละเอียดต่างๆตกหล่นไปเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะเมื่อต้องแปลคำว่า "พระเจ้า" ในภาษาฮิบรู คำว่า "พระเจ้า" ในภาษาฮิบรูที่ใช้กันทั่วไปคำหนึ่งคือคำว่า "อีโลฮิม" (Elohim) หมายความว่าผู้มีอำนาจ พระนามที่พระเจ้าต้องการให้เราจดจำจึงเป็นอนุสรณ์ของพระองค์
ยาห์เวห์ เอโลฮิม (YAHWEH ELOHIM)
หมายความว่า
ผู้ซึ่งสำแดงพระองค์ในกลุ่มของผู้ที่มีอำนาจทั้งหลาย
เป็นพระประสงค์ของพระเจ้าที่ทรงต้องการสำแดงลักษณะและตัวตนที่แท้จริงของพระองค์ต่อคนกลุ่มใหญ่ การเชื่อฟังพระวจนะของพระเจ้าช่วยให้เราพัฒนาลักษณะของพระองค์ในตัวเราได้ ถือเป็นการสำแดงพระองค์กับผู้ที่มีศรัทธาแรงกล้า แต่พระนามของพระเจ้าคือคำพยากรณ์ในอนาคต เมื่อโลกนี้เต็มไปด้วยคนที่มีลักษณะและสภาพเหมือนพระองค์ (cp. 2 เปโตร1:4) ถ้าเราปรารถนาจะมีส่วนร่วมในพระนามของพระเจ้า และเป็นเหมือนพระเจ้าคือเป็นอมตะ เพื่อมีชีวิตอันบริบูณณ์ด้วยธรรมเป็นนิรันดร์ เราจะต้องมีส่วนร่วมในพระนามของพระเจ้า ซึ่งจะทำได้ก็ด้วยการรับบัพติศมาในนามแห่งพระองค์ คือพระยาห์เวห์ เอโลฮิม (มัทธิว28:19) ซึ่งจะทำให้เรากลายเป็นผู้สืบทอด ("เมล็ดพันธุ์") ของอับราฮัม (กาลาเทีย3:27-29) ซึ่งได้รับคำสัญญาให้สืบมรดกนิรันดร์บนโลก (ปฐมกาล17:8; โรม4:13) - กลุ่มของ "ผู้ทรงมหิทธิฤทธิ์" ("เอโลฮิม") ซึ่งเป็นกลุ่มที่คำพยากรณ์เรื่องพระนามของพระเจ้าจะเกิดสัมฤทธิผล โดยจะอธิบายให้ละเอียดยิ่งขึ้นในบทที่ 3.4
1.4 ทูตสวรรค์
สิ่งที่เราได้ศึกษาไปแล้วในบทนี้คือการพิจารณาเรื่องทูตสวรรค์:
- ดำรงอยู่ในสภาพร่างกายของมนุษย์
- ชูพระนามของพระเจ้า
- เป็นช่องทางให้พระวิญญาณของพระเจ้าได้กระทำตามพระประสงค์
- สอดคล้องกับพระจริยาวัตรและพระประสงค์ของพระเจ้า
- และเป็นการสำแดงองค์ของพระเจ้า
เราได้กล่าวไปแล้วในบทที่ 1.3 ว่าคำว่า 'พระเจ้า' ที่ใช้ในภาษาฮิบรูทั่วไปคือ 'เอโลฮิม' หมายถึง 'ผู้ทรงมหิทธิฤทธิ์' ซึ่งชูพระนามของพระเจ้า โดยเราอาจเรียก 'ผู้ทรงมหิทธิฤทธิ์' เหล่านี้ว่า 'พระเจ้า' เนื่องจากมีความเกี่ยวโยงอย่างใกล้ชิดกับพระเจ้า บรรดาสรรพสิ่งมีชีวิตเหล่านี้คือทูตสวรรค์
บันทึกการสร้างโลกในหนังสือปฐมกาล 1 บอกให้เรารู้ว่าพระเจ้าทรงตรัสถึงบัญญัติบางข้อเกี่ยวกับการสร้าง "ก็เป็นดังนั้น" ทูตสวรรค์คือผู้กระทำตามพระบัญญัติ:
"ทูตสวรรค์ ท่านผู้ทรงมหิทธิฤทธิ์ ผู้กระทำตามพระวจนะของพระองค์ และฟังเสียงพระวจนะของพระองค์" (สดุดี103:20)
จึงพอสรุปได้ว่าเมื่อเราอ่านเรื่อง 'พระเจ้า' ทรงสร้างโลกนั้น งานนี้แท้จริงทูตสวรรค์เป็นผู้ทำ ในหนังสือโยบ 38:4-7 ก็กล่าวถึงเรื่องนี้ไว้เช่นกัน ตรงนี้จึงนับเป็นช่วงเวลาดีที่จะสรุปเหตุการณ์ต่างๆในการสร้างโลกตามที่บันทึกไว้ในพระธรรมเรื่องปฐมกาล 1:
วันที่ 1 "พระเจ้าตรัสว่า จงเกิดความสว่าง ความสว่างก๋เกิดขึ้น" (v.3)
วันที่ 2 "พระเจ้าตรัสว่า จงมีภาคพื้น (ท้องฟ้า ผืนกว้าง) ในระหว่างน้ำ แยกน้ำ (บนภาคพื้น) ออกจากน้ำ (เหนือภาคพื้น) กัน ... ก็เป็นดังนั้น" (v.6,7)
วันที่ 3 "พระเจ้าตรัสว่า น้ำที่อยู่ใต้ฟ้าจงรวมอยู่แห่งเดียวกัน (ทำให้เกิดเป็นทะเลและมหาสมุทร) ... ที่แห้งจงปรากฏขึ้น ก็เป็นดังนั้น" (v.9)
วันที่ 4 "พระเจ้าตรัสว่า จงมีดวงสว่างบนฟ้า ก็เป็นดังนั้น" (v.14,15)
วันที่ 5 "พระเจ้าตรัสว่า นำจงอุดมด้วยฝูงสัตว์ที่มีชีวิต และนกจงบินไปมา ... และพระเจ้าทรงสร้างสัตว์ที่มีชีวิตนานาชนิด" (v.20,21) - "ก็เป็นดังนั้น"
วันที่ 6 "พระเจ้าตรัสว่า แผ่นดินจงเกิดสัตว์ที่มีชีวิต ... สัตว์ใช้งาน และสัตว์เลื้อยคลาน ... และก็เป็นดังนั้น" (v.24)
มนุษย์ถูกสร้างขึ้นในวันที่หกเช่นเดียวกัน "พระเจ้าตรัสว่า ให้เราสร้างมนุษย์ตามฉายาตามอย่างของเรา" (ปฐมกาล1:26) เราได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับบทกลอนนี้ไว้แล้วในบทเรียนที่ 1.2 ตอนนี้เราเพียงต้องการลันทึกไว้ว่า "พระเจ้า" ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงพระเจ้าที่มีตัวตนจริง ข้อความที่กล่าวว่า "ให้เราสร้างมนุษย์" แสดงให้เห็นว่า 'พระเจ้า' กำลังพูดถึงคนมากกว่า 1 คน คำในภาษาฮิบรูที่แปลว่า 'พระเจ้า' ตรงนี้คือคำว่า 'เอโลฮิม (Elohim)' หมายถึง 'ผู้ทรงมหิทธิฤทธิ์' ซึ่งหมายถึงทูตสวรรค์นั่นเอง การที่ที่ทูตสวรรค์ได้สร้างเราขึ้นมาโดยให้มีรูปลักษณ์เหมือนตนเองนั้นหมายความว่าทูตสวรรค์เหล่านั้นจะต้องมีรูปกายเหมือนกับเรา ทูตสวรรค์จึงมีร่างที่มีตัวตนและจับต้องได้จริง ซึ่งเป็นภาพเดียวกับพระเจ้า
คำว่า 'ภาพ' ในความหมายนี้หมายถึงมีโครงสร้างพื้นฐานทางสรีระเหมือนกัน ในพระคัมภีร์มี 'ภาพ' อยู่ 2 ภาพ ในความหมายนี้จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะเกิดภาพทั้งสองขึ้นพร้อมกัน
ภาพของพระเจ้า ('ภาพอันศักดิ์สิทธิ์')
ไม่บาป (สมบูรณ์แบบ) (โรม9:14; 6:23 cp. สดุดี90:2; มัทธิว5:48; ยากอบ1:13)
ไม่ตาย คือมีชีวิตนิรันดร์ (1 ทิโมธี6:16)
เต็มไปด้วยอำนาจและพลัง (อิสยาห์40:28)
นี่คือภาพของพระเจ้าและทูตสวรรค์ ซึ่งได้มอบให้พระเยซู หลังจากฟื้นคืนพระชนม์ (กจ.13:34; วิวรณ์1:18; ฮิบรู1:3) เป็นภาพที่เราได้รับสัญญาไว้ (ลูกา20:35,36; 2 เปโตร1:4; อิสยาห์40:28 cp.v 31)
ภาพของมนุษย์ (Human nature)
ล่อให้ทำบาป (ยากอบ1:13-15) โดยจิตที่คิดชั่วร้าย (เยเรมีย์17:9; มะระโก7:21-23)
ถูกกำหนดให้ตาย คือไม่มีชีวิตนิรัดร์ (โรม5:12,17; 1 โครินธ์15:22)
มีแรงจำกัด ทั้งทางสรีระ (อิสยาห์40:30) และทางจิตใจ (เยเรมีย์10:23)
นี่คือภาพที่มนุษย์ทุกคนมีไม่ว่าจะดีหรือเลว จุดสิ้นสุดของภาพนั้นก็คือความตาย (โรม6:23) เป็นภาพที่พระเยซูมีขณะทรงใช้ชีวิตในโลกมนุษย์ (ฮิบรู2:14-18; โรม8:3; ยอห์น2:25; มะระโก10:18)
โชคไม่ดีที่คำว่า 'ภาพ' ในภาษาอังกฤษมีความหมายค่อนข้างกว้าง เราใช้คำนี้ในประโยคว่า 'จอห์นมีภาพลักษณ์ของความใจดี - เขาไม่มีภาพของความหยาบคาย แต่ฉันคิดว่าเขาค่อนข้างภูมิใจในรถยนต์ของเขา ซึ่งมีลักษณะเหมือนมนุษย์' นี่ไม่ใช่ความหมายของคำว่า 'ภาพ' ที่เราใช้ในบทเรียน
รูปลักษณ์ของทูตสวรรค์
ทูตสวรรค์มีฉายาเหมือนพระเจ้า จึงไม่มีบาป และไม่มีวันตาย โดยเห็นว่าบาปคือสิ่งที่นำไปสู่ความตาย (โรม6:23) ทูตสวรรค์จะต้องมีรูปร่างสรีระ ด้วยเหตุนี้เองเมื่อทูตสวรรค์ปรากฏกายบนโลก จึงมีรูปร่างเหมือนกับมนุษย์:
- ทูตสวรรค์มาหาอับราฮัมเพื่อกล่าวพระวจนะของพระเจ้าให้เขาฟัง ทูตสวรรค์ถูกบรรยายไว้ว่าเป็น "ชายสามคน" ซึ่งอับราฮัมปฏิบัติด้วยเหมือนเป็นมนุษย์ เนื่องจากนั่นคือรูปกายภายนอกของทูตสวรรค์ "ข้าจะเอาน้ำมานิดหน่อยให้ท่านล้างเท้า และพักใต้ต้นไม้" (ปฐก.18:4)
- ทูตสวรรค์สองคนเดินทางไปหาโลทที่เมืองโสโดม ซึ่งก็ได้รับการรับรองในฐานะมนุษย์จากโลทและคนในเมืองโสโดมเท่านั้น "ฝ่ายทูตสวรรค์สององค์นั้นมาถึงเมืองโสโดม" โดยโลทเชิญทั้งสองมามาค้างด้วย แต่ชายชาวเมืองโสโดมพากันมาที่เรือน ร้องขู่โลทว่า "ชายที่เข้ามาหาเจ้าคืนนี้อยู่ที่ไหน?" โลทอ้อนวอนว่า "ชายเหล่านี้ไม่ได้ทำอะไร" บันทึกนี้ยังเรียกทูตสวรรค์ว่า "ชาย" "ชายทั้งสอง (ทูตสวรรค์) ยื่นมือออกไป" และช่วยเหลือโลท "และชายทั้งสองจึงพูดกับโลท ... พระเจ้าทรงใช้เรามาทำลาย" เมืองโสโดม (ปฐมกาล19:1,5,8, 10,12, 13)
- พระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาใหม่ซึ่งกล่าวถึงเหตุการณ์เหล่านี้ ยืนยันว่าทูตสวรรค์อยู่ในร่างของชาย: "อย่าละเลยที่จะต้อนรับแขกแปลกหน้า เพราะบางคน (เช่น อับราฮัมและโลท) ก็ได้ต้อนรับทูตสวรรค์โดยไม่รู้ตัว" (ฮิบรู13:2)
- ยาโคบปล้ำอยู่กับชายแปลกหน้าตลอดคืน (ปฐมกาล32:24) ซึ่งภายหลังเราจึงรู้ว่าเป็นทูตสวรรค์ (โฮเชยา12:4)
- ชายสองคนในชุดขาวอยู่ในที่ที่พระเยซูฟื้นคืนพระชนม์ (ลูกา24:4) และการเสด็จสู่สวรรค์ (กิจการอัครทูต1:10) ของพระเยซู เห็นได้ชัดว่าชายเหล่านี้คือทูตสวรรค์
- จงพิจารณานัยของข้อความที่ว่า "มาตราวัดของมนุษย์ ซึ่งเหมือนกันกับของทูตสวรรค์" (วิวรณ์21:17)
ทูตสวรรค์ไม่ทำผิดบาป
ทูตสวรรค์มีฉายาเหมือนพระเจ้า จึงไม่ตาย โดยเห็นว่าบาปคือสิ่งที่นำไปสู่ความตาย ทูตสวรรค์จึงไม่ทำผิดบาป คำในภาษากรีกและฮิบรูที่แปลว่า 'ทูตสวรรค์' มีความหมายว่า 'ผู้นำสาร' ทูตสวรรค์คือผู้นำสารหรือผู้รับใช้ของพระเจ้า และเชื่อฟังพระองค์ จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะคิดว่าทูตสวรรค์มีบาป ดังนั้นคำว่า 'aggelos' ในภาษากรีก ซึ่งแปลว่า 'ทูตสวรรค์' ยังมีความหมายว่า 'ผู้นำสาร' ได้อีกด้วยเมื่อพูดถึงมนุษย์ เช่น ยอห์น (มัทธิว11:10) และผู้นำสาร (ลูกา7:24); ผู้นำสารของพระเยซู (ลูกา9:52) และชายผู้สอดแนมดู Jericho (ยากอบ2:25) จึงเป็นไปได้ทีเดียวที่ 'ทูตสวรรค์' ในความหมายว่าเป็นผู้นำสารที่เป็นมนุษย์สามารถทำบาปได้
ข้อความต่อไปนี้แสดงให้เห็นว่าทูตสวรรค์ทั้งหมด (ไม่ใช่เฉพาะบางคนเท่านั้น) โดยปกติแล้วจะเชื่อฟังพระเจ้า และไม่มีบาป:
"พระเจ้าทรงสถาปนาบัลลังก์ของพระองค์ไว้ในฟ้าสวรรค์ และราชอาณาจักรของพระองค์ครองทุกสิ่งอยู่ (จะไม่มีการก่อกบฎต่อพระเจ้าในสวรรค์) ข้าแต่ท่านทั้งหลาย ผู้เป็นทูตสวรรค์ของพระองค์ จงถวายสาธุการแด่พระเจ้า ท่านผู้ทรงมหิทธิฤทธิ์ ผู้กระทำตามพระวจนะของของพระองค์ และฟังเสียงพระวจนะของพระองค์ พลโยธาทั้งสิ้นของพระองค์จงถวายสาธุการแด่พระเจ้า คือบรรดาผู้รับใช้ที่กระทำตามพระทัยพระองค์" (สดุดี103:19-21)
"ทูตสวรรค์ทั้งหลายของพระองค์จงสรรเสริญพระองค์ ... พลโยธาของพระองค์ (สดุดี148:2)
"ทูตสวรรค์ทั้งปวง ... เป็นแต่เพียงวิญญาณผู้ปรนนิบัติ ที่พระองค์ทรงส่งไปช่วยเหลือบรรดาผู้ที่จะได้รับความรอดกระนั้นมิใช่หรือ?" (ฮิบรู1:13,14)
การใช้คำว่า "ทั้งปวง" ซ้ำๆ แสดงให้เห็นว่าทูตสวรรค์ไม่ได้แบ่งออกเป็นสองกลุ่ม คือฝ่ายดีและฝ่ายชั่ว สิ่งสำคัญในการทำความเข้าใจกับภาพของทูตสวรรค์ก็คือรางวัลจากการมีศรัทธาคือการแบ่งปันภาพลักษณ์ "เขาเหล่านั้นที่สมควร ... ไม่มีการสมรสกัน ... เขาจะตายอีกไม่ได้ เพราะเขาเป็นเหมือนทูตสวรรค์" (ลูกา20:35,36) ประเด็นสำคัญที่ต้องจับให้ได้คือ ทูตสวรรค์ไม่มีวันตาย: "ความตาย ... ไม่สามารถทำอะไรทูตสวรรค์ได้" (ฮีบรู 2:16 Diaglott margin) ถ้าทูตสวรรค์ทำบาปได้ พวกที่สมควรได้รับรางวัลเมื่อพระเยซูทรงกลับมาก็ยังทำบาปได้ และเมื่อเห็นว่าบาปเป็นสิ่งที่นำไปสู่ความตาย (โรม6:23) พวกนี้จึงไม่มีชีวิตนิรันดร์ ถ้าเราทำบาปได้ เราก็ตายได้ ดังนั้นการกล่าวว่าทูตสวรรค์ทำบาปได้จึงทำให้ชีวิตนิรันดร์ซึ่งพระเจ้าสัญญาว่าจะให้ไร้ความหมาย โดยมองว่ารางวัลที่เราจะได้รับคือการมีคุณสมบัติเหมือนทูตสวรรค์ การอ้างอิงถึง "ทูตสวรรค์" (ลูกา20:35,36) แสดงให้เห็นว่าไม่มีการแบ่งแยกทูตสวรรค์ออกเป็นฝ่ายดีและฝ่ายชั่ว จะมีเพียงทูตสวรรค์เพียงประเภทเดียวเท่านั้น
ถ้าทูตสวรรค์ทำบาปได้ พระเจ้าก็ไร้ซึ่งอำนาจในการเข้ามายุ่งเกี่ยวกับชีวิตเรา และเรื่องทางโลกอย่างชอบธรรม โดยมองว่าพระเจ้าทรงสำแดงให้เห็นว่าพระองค์ทรงงานผ่านทางทูตสวรรค์ (สดุดี103:19-21) ทูตสวรรค์คือ 'วิญญาณที่พระเจ้าทรงสร้างขึ้น' ในแง่ที่พระองค์ทรงทำทุกอย่างได้สำเร็จด้วยจิต/อำนาจ ผ่านทางทูตสวรรค์ (สดุดี 104:4) จึงเป็นไปไม่ได้ที่ทูตสวรรค์จะไม่เชื่อฟังพระเจ้า ชาวคริสเตียนควรจะอธิฐานให้อาณาจักรของพระเจ้ามาปรากฏบนโลกทุกวัน ให้พระประสงค์ของพระองค์สัมฤทธิผลเช่นเดียวกับที่ทำสำเร็จในสวรรค์ (มัทธิว 6:10) ถ้าทูตสวรรค์ของพระเจ้าต้องต่อสู้กับทูตสวรรค์ฝ่ายเลวในสวรรค์ พระประสงค์ก็ยังคงไม่สัมฤทธิผลในสวรรค์ และจะเกิดสถานการณ์เช่นเดียวกันในอณาจักรหน้าของพระองค์ การใช้ชีวิตนิรันดร์ในโลกที่มีแต่การสู้รบระหว่างผู้มีบาปกับผู้เชื่อฟังเป็นอนาคตที่ไม่สร้างแรงจูงใจเลย แต่นั่นไม่ใช่ประเด็นที่จะพูดถึง
แต่...?
คริสตจักรหลายแห่งคิดว่าทูตสวรรค์ทำบาปได้ และทูตสวรรค์นั้นยังต้องอยู่รับผิดชอบต่อบาปและปัญหาที่เกิดขึ้นบนโลก เราจะพูดถึงแนวคิดที่ผิดหลักนี้อย่างละเอียดในบทเรียนที่ 6 ส่วนตอนนี้เราจะเน้นประเด็นดังต่อไปนี้:-
- เป็นไปได้ที่อาจจะมีการสร้างสรรพสิ่งขึ้นมาก่อนเรา เช่นที่บันทึกไว้ในหนังสือปฐมกาล 1 และเป็นไปได้ที่ปัจจุบันทูตสวรรค์จะตระหนักถึง "ความดีและความชั่ว" (ปฐก. 3:5) ผ่านประสบการณ์ที่ได้รับเช่นเดียวกับเราได้รับในชีวิต ทูตสวรรค์บางองค์ที่ได้ทำบาปสมัยนั้นไม่ได้รับการตัดสินลงโทษ แต่ทั้งหมดนี่คือการคาดเดา ซึ่งจิตมนุษย์โน้มนำให้เชื่ออยู่แล้ว พระคัมภีร์บอกให้เรารู้ว่าปัจจุบันเราต้องการรู้อะไร ซึ่งก็คือไม่มีทูตสวรรค์ที่ทำบาป ทูตสวรรค์ทุกอง๕เชื่อฟังคำของพระเจ้า
- ไม่มีทูตสวรรค์ที่ทำบาปอยู่ในสวรรค์ โดยมองว่าพระเจ้ามี "พระเนตรบริสุทธิ์เกินกว่าจะทอดพระเนตรเห็นความชั่ว" (ฮาบากุก1:13) หนังสือสดุดี 5:4,5 อธิบายไว้ในลักษณะเดียวกันว่า "ความชั่วร้ายจะไม่อาศัยอยู่กับพระองค์ คนโอ้อวดจะไม่ยืนอยู่เฉพาะพระเนตรของพระองค์" ที่พระตำหนักในสวรรค์ของพระองค์ ดังนั้นการคิดว่ามีทูตสวรรค์ก่อกบฎต่อพระเจ้าในสวรรค์ดูจะขัดแย้งกับข้อความข้างต้น
- คำว่า "ทูตสวรรค์" ที่แปลจากภาษากรีกมีความหมายว่า "ผู้นำสาร" และยังหมายถึงคนอีกด้วยดังที่กล่าวข้างต้น "ผู้นำสาร" ที่เป็นมนุษย์นี้จึงทำบาปได้
- พวกป่าเถื่อนมักจะเชื่อว่ามีคนบาปชั่วช้าที่ถูกกล่าวโทษว่าเป็นชีวิตด้านลบ เช่นเดียวกับความคิดของคนนอกศาสนาเรื่องคริสมาส
- มีข้อความในพระคัมภีร์เพียงไม่กี่ตอนที่อาจทำให้เกิดความเข้าใจไขว้เขวว่า ยังมีทูตสวรรค์ที่มีบาปอยู่ ซึ่งจะเห็นได้จากหนังสือเรื่อง "ดั้นด้นหาซาตาน" ที่มีผู้พิมพ์จำหน่าย ข้อความเหล่านี้ไม่อาจปล่อยทิ้งไว้ให้ขัดแย้งกับความสมบูรณ์ของคำสอนในพระคัมภีร์ที่มีอยู่ได้
บทเรียนที่ 1: คำถาม
1. อะไรช่วยให้เราเกิดศรัทธาในพระเจ้าได้มากที่สุด?
a) การไปโบสถ์
b) การศึกษาพระคัมภีร์ด้วยการสวดอธิษฐาน
c) การพูดคุยกับพี่น้องชาวคริสเตียน
d) การมองดูธรรมชาติ
2. ข้อใดข้างล่างเป็นคำจำกัดความของคำว่าพระเจ้าที่ถูกต้อง?
ก) เป็นเพียงความคิดในสมองเท่านั้น
ข) เป็นวิญญาณหนึ่งที่ล่องลอยอยู่ในอากาศ
ค) ไม่มีพระเจ้า
ง) เป็นคนที่มีรูปลักษณ์ตนตนจริง
3. พระเจ้าคือ
ก) เอกภาพ
ข) พระเจ้าสามองค์
ค) พระเจ้าหลายๆองค์ที่รวมอยู่ในองค์เดียวกัน
ง) ไม่มีทางบรรยายความได้
4. พระนามของพระเจ้าที่ว่า 'ยาห์เวห์ เอโลฮิม (Yahweh Elohim)' หมายถึงอะไร?
ก) พระเจ้าผู้ที่จะเป็น
ข) พรเจ้าผู้ที่จะสำแดงพระองค์ในกลุ่มผู้ทรงมหิทธิฤทธิ์
ค) ผู้ยิ่งใหญ่
ง) พลัง
5. คำว่า 'ทูตสวรรค์' หมายถึงอะไร?
ก) เหมือนมนุษย์
ข) มีปีก
ค) ผู้นำสาร
ง) ผู้ช่วย
6. ทูตสวรรค์ทำบาปได้หรือไม่?
ได้
ไม่ได้
วันอาทิตย์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น