วันอาทิตย์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

การเลียกไส้เดือน

การเลี้ยงไส้เดือนเพื่อการค้า
ความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ในการผลิตโปรตีนไส้เดือนดินสำหรับเลี้ยงสัตว์ในทางการค้า

ปัจจุบันในประเทศไทยมีการเลี้ยงไส้เดือนดินเพื่อผลิตปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินจำหน่ายทางการค้าหลายแห่งแต่ยังไม่เคยมีการผลิตโปรตีนจากไส้เดือนดิน ดังนั้นข้อมูลในส่วนนี้จะเป็นเรื่องการผลิตโปรตีนไส้เดือนดินทางการค้าที่ได้จากต่างประเทศ สรุปได้คือ หารผลิตโปรตีนไส้เดือนดินในทางการค้า ผลผลิตที่ได้จะมีคุณภาพดีหากตัวไส้เดือนดินที่นำมาใช้ในการผลิตเป็นอาหารเลี้ยงสัตว์ ได้มาจากฟาร์มเลี้ยงไส้เดือนดินขนาดใหญ่ ที่ใช้มูลหรือของเสียจากสัตว์ปริมาณมากในการเลี้ยงไส้เดือนดิน เนื่องจากมูลสัตว์เหล่านั้น สามารถเพิ่มประชากรของไส้เดือนดินได้มากและเจริญเติบโตได้น้ำหนักดี ทำให้ได้ตัวไส้เดือนดินที่นำมาเป็นวัตถุดิบในการผลิตอาหารโปรตีนมีปริมาณมากและมีคุณภาพ นอกจากนี้ หลักเกณฑ์การผลิตที่สำคัญในการนำไส้เดือนดินมาผลิตเป็นอาหารเลี้ยงสัตว์ทางการค้าจะต้องผลิตให้คุ้มค้าทางเศรษฐศาสตร์ด้วย ในสมัยก่อนการผลิตโปรตีนจากไส้เดือนดินจะต้องใช้แรงงานคนในการคัดเลือกไส้เดือนดินออกจากมูลไส้เดือนดินจำนวนมากทำให้สิ้นเปลืองแรงงานและต้นทุนในส่วนของค่าแรงมาก ซึ่งเป็นอุปสรรคที่สำคัญในการผลิตโปรตีนไส้เดือนดินทางการค้าทำให้ไม่ประสบผลสำเร็จ แต่ปัจจุบันสามารถแก้ปัญหาดังกล่าวได้แล้วโดยใช้เครื่องคัดแยกไส้เดือนดินที่มีประสิทธิภาพที่ดีกว่า ทำให้สามารถทำการแยกไส้เดือนดินออกจากมูลไส้เดือนดินได้อย่างรวดเร็วและใช้แรงงานคนน้อย


เครื่องแยกไส้เดือนดินออกจากมูลดิน

จากการวิเคราะห์คุณค่าทางอาหารของโปรตีนที่ได้จากไส้เดือนดิน พบว่า คุณค่าทางอาหารที่ได้จากไส้เดือนดิน ประกอบด้วย กรดอะมิโน กรดไขมัน แร่ธาตุและวิตามิน ซึ่งพบว่ามีปริมาณมากและมีคุณค่าเหมาะแก่การใช้เป็นอาหารสำหรับเลี้ยงสัตว์โดยเฉพาะ ปลา ปลาไหล ลูกไก่ สัตว์ปีกทุกชนิด และ หมู โดยใช้ทดแทนอาหารจากเนื้อ และ ปลาได้ดี สำหรับการพิจารณาการผลิตทางเศรษฐศาสตร์ ในแง่ราคาผลผลิตที่ได้ ต่อการนำมาใช้เป็นอาหารสัตว์เพื่อการค้า ในเรื่องนี้ Sabine ได้คำนวณราคา เปรียบเทียบอาหารโปรตีนเลี้ยงสัตว์ที่ผลิตจากการใช้เนื้อสัตว์ในโรงงานผลิตอาหารสัตว์ที่ประเทศออสเตรเลีย กับการใช้ไส้เดือนดินผลิตเป็นอาหารโปรตีนเลี้ยงสัตว์ จากการทดสอบคุณค่าทางอาหารในข้างต้น พบว่า การใช้เนื้อผลิตเป็นอาหารโปรตีนเลี้ยงสัตว์ปีกทางการค้า จะมีราคา 7,680 บาท/ตัน แต่ถ้าใช้ไส้เดือนดินในจำนวนที่เท่ากัน พบว่าราคาสูงถึง 9,440 บาท/ตัน และอาจสูงถึง 12,000 บาท/ตัน ซึ่งเป็นราคาต้นทุนที่สูงกว่าหลายเท่า อาจไม่คุ้มค่าในทางเศรษฐศาสตร์ ในการใช้โปรตีนการไส้เดือนดินในการเลี้ยงสัตว์เชิงการค้า

ดังนั้นการเลี้ยงไส้เดือนเพื่อการค้าต้นทุนอาจยังสูง แต่ปัจจุบัน การส่งออกไส้เดือนดินอบแห้งไปยังต่างประเทศยังทำเงินให้ได้พอสมควร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น